พระมเหสีและพระโอรสธิดา ของ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล

อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลทรงอภิเษกสมรสกับอาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย ด้วยการอภิเษกสมรสผ่านตัวแทนในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 7 พระองค์ได้แก่

 พระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส18194 เมษายน
พ.ศ. 2362
185315 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2396
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2378 กับ
ออกุสต์ เดอ โบฮาร์เนส์ ดยุคแห่งเลาช์เทนเบิร์ก
ไม่มีพระโอรสธิดา

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2379 กับ
เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
มีพระโอรสธิดา 11 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าเปดรูที่ 5 แห่งโปรตุเกส
สมเด็จพระเจ้าลูอิสที่ 1 แห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายฌูเอา ดยุคแห่งเบจา
เจ้าหญิงมาเรีย แอนนาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงแอนโทเนียแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายเฟอร์นันโดแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายออกุสโต ดยุคแห่งโคอิมบรา
เจ้าชายลีโอโพลโดแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรีย ดา กลอเรียแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายยูจินีโอแห่งโปรตุเกส

ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสระหว่างปีพ.ศ. 2369 จนถึงพ.ศ. 2396 พระราชสวามีองค์แรกของพระนาง ออกุสต์ เดอ โบฮาร์เนส์ ดยุคแห่งเลาช์เทนเบิร์กได้สิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่เดือนหลังจากอภิเษกสมรส พระราชสวามีองค์ต่อมาของพระนางคือ เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าเฟอร์นันโดที่ 2 แห่งโปรตุเกสหลังจากพระนางมีพระประสูติกาลโอรสพระองค์แรก ซึ่งมีพระโอรสธิดารวม 11 พระองค์ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ของพระอนุชา สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล โดยพระนางทรงดำรงเป็นเจ้าหญิงรัชทายาทแห่งบราซิลจนกระทั่งพระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์ด้วยกฎหมายมาตราที่ 91 ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2378[239]
เจ้าชายมิเกลแห่งเบย์รา182026 เมษายน
พ.ศ. 2363
182026 เมษายน
พ.ศ. 2363
ทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งเบย์ราจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
เจ้าชายฌูเอา คาร์ลอสแห่งเบย์รา18216 มีนาคม
พ.ศ. 2364
18224 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2365
ทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งเบย์ราจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
เจ้าหญิงยาโนเรียแห่งบราซิล182211 มีนาคม
พ.ศ. 2365
190115 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2444
อภิเษกสมรส วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2387 กับ
เจ้าชายหลุยส์ เคานท์แห่งอควิลา
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายหลุยส์ เคานท์แห่งร็อกคากูเกลมา
เจ้าหญิงมาเรีย อิซาเบลลาแห่งบูร์บง-ทูซิชิลี
เจ้าชายฟิลิปโปแห่งบูร์บง-ทูซิชิลี
เจ้าชายมาเรีย เอ็มมานูเอลแห่งบูร์บง-ทูซิชิลี

ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ เคานท์แห่งอควิลา ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งทูซิชิลี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าหญิงแห่งโปรตุเกสอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2365[240] พระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกสหลังจากบราซิลประกาศอิสรภาพ[241]
เจ้าหญิงเปาลาแห่งบราซิล182317 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2366
183316 มกราคม
พ.ศ. 2376
ทรงสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษาด้วยพระโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ[242] ประสูติในบราซิลหลังจากได้รับเอกราชแล้ว พระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[243]
เจ้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิล18242 สิงหาคม
พ.ศ. 2367
189827 มีนาคม
พ.ศ. 2441
อภิเษกสมรส วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386 กับ
เจ้าชายฟรองซัวส์แห่งออร์เลออง เจ้าชายแห่งโจอินวิลล์
มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงฟรองซัวส์แห่งออร์เลออง
เจ้าชายปิแยร์ ดยุคแห่งเพนทิเอฟเร
เจ้าหญิงมารี ลีโอโพลดีนแห่งออร์เลออง

ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟรองซัวส์แห่งออร์เลออง เจ้าชายแห่งโจอินวิลล์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส พระมหากษัตริย์กรกฎาคมแห่งฝรั่งเศส ประสูติในบราซิลหลังจากได้รับเอกราชแล้ว พระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[244]
สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล18252 ธันวาคม
พ.ศ. 2368
18915 ธันวาคม
พ.ศ. 2434
อภิเษกสมรส วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2385 กับ
เจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งทูซิชิลี
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายอฟอนโซ เจ้าชายรัชทายาทแห่งบราซิล
เจ้าหญิงอิซาเบล เจ้าหญิงรัชทายาทแห่งบราซิล
เจ้าหญิงลีโอโพลดินาแห่งบราซิล
เจ้าชายเปดรู เจ้าชายรัชทายาทแห่งบราซิล

ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิลระหว่างปีพ.ศ. 2374 จนกรทั่งพ.ศ. 2432 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งทูซิชิลี ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งทูซิชิลี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ประสูติในบราซิลหลังจากได้รับเอกราชแล้ว พระองค์ทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[230]

เจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของอาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลทรงอภิเษกสมรสใหม่กับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก ด้วยการอภิเษกสมรสผ่านตัวแทนในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2372 มีพระธิดา 1 พระองค์ได้แก่

 พระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิล18311 ธันวาคม
พ.ศ. 2374
18534 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2396
พระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพทั้งหมดของพระนางในยุโรปและไม่เคยเสด็จมายังบราซิล เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียทรงถูกหมั้นหมายไว้กับอาร์คดยุคแม็กซีมีเลียนแห่งออสเตรีย ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิเม็กซิโก แต่เจ้าหญิงทรงสิ้นพระชนม์ก่อนการอภิเษกสมรส เจ้าหญิงประสูติหลังจากพระราชบิดาสละราชบัลลังก์โปรตุเกส พระองค์ไม่ทรงเคยอยู่ในสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[245]

โดมิทิลา เดอ คัสโตร มาคิโอเนสแห่งซานโตส

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลมีพระโอรสธิดากับโดมิทิลา เดอ คัสโตร มาคิโอเนสแห่งซานโตส พระสนมที่ทรงคบหามาอย่างยาวนาน มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ได้แก่

 ชื่อเกิดเสียชีวิตหมายเหตุ
อิซาเบล มาเรีย เดอ อัลคันทารา ดัสเชสแห่งกอยอัส182423 พฤษภาคม
พ.ศ. 2367
1898พ.ศ. 2441เธอเป็นพระธิดาเพียงคนเดียวของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ที่กำเนิดนอกภาวะการสมรส ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการรับรองตามกฎหมายจากพระองค์[246] ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 อิซาเบล มาเรียได้รับพระราชทานตำแหน่ง "ดัสเชสแห่งกอยอัส" ซึ่งเป็นอิสริยยศชั้นไฮเนส และได้รับสิทธิในการขานชื่อว่า "ดอนนา"(ท่านผู้หญิง) [246] เธอเป็นบุคคลแรกที่ได้รับอิสริยยศชั้นดัสเชสในสมัยจักรวรรดิบราซิล[247] เกียรติยศเหล่านี้มิได้เป็นถวายเกียรติให้เธอในฐานะเจ้าหญิงแห่งบราซิลหรือสิทธิในการสืบราชสันตติวงศ์ ในพระราชพินัยกรรมของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 พระองค์ได้พระราชทานแบ่งพระราชมรดกบางส่วนแก่เธอ[248] หลังจากนั้นเธอได้สูญเสียตำแหน่งและเกียรติยศในบราซิลจากการสมรสกับชาวต่างชาติ คือ เอิรนส์ ฟิชเลอร์ ฟาน ทรูเบิร์ก, เคานท์แห่งทรูเบิร์ก ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2386[249][250]
เปดรู เดอ อัลคันทารา บราซิเลโร18257 ธันวาคม
พ.ศ. 2368
182527 ธันวาคม
พ.ศ. 2368
ดูเหมือนว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีพระราชวินิจฉัยที่จะพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่เขาในฐานะ "ดยุคแห่งเซาเปาโล" ที่ซึ่งไม่เป็นผลจากการที่เขาได้เสียชีวิตเมื่อยังเยาว์วัย[251]
มาเรีย อิซาเบล เดอ อัลคันทารา บราซิเลรา182713 สิงหาคม
พ.ศ. 2370
182825 ตุลาคม
พ.ศ. 2371
สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีพระราชวินิจฉัยที่จะพระราชทานอิสริยยศแก่เธอในฐานะ "ดัสเชสแห่งคาเอรา" ซึ่งเป็นอิสริยยศชั้นไฮเนส และได้รับสิทธิในการขานชื่อว่า "ดอนนา"(ท่านผู้หญิง) [252] ที่ซึ่งไม่เป็นผลจากการที่เธอได้เสียชีวิตเมื่อยังเยาว์วัย อย่างไรก็ตามในหลักฐานอื่นๆของท้องถิ่นได้ขานนามเธอว่า "ดัสเชสแห่งคาเอรา" ถึงแม้ว่าตำแหน่งนี้จะไม่ได้ใช้"ในเอกสารทางราชการ, ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งนี้แก่เธอ, อีกทั้งไม่มีการกล่าวถึงในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพิธีฝังศพของเธอ"[252]
มาเรีย อิซาเบล เดอ อัลคันทารา เคานท์เตสแห่งอิกัวคู183028 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2373
189613 กันยายน
พ.ศ. 2439
ได้เป็นเคานท์เตสแห่งอิกัวคูจากการสมรสในปีพ.ศ. 2391 กับเปดรู คาลเดย์รา บรันท์ บุตรชายของเฟลิสเบอร์โต คาลเดย์รา บรันท์ มาควิสแห่งบาร์บาเซนา[251] เธอไม่ได้รับพระราชทานอิสริยยศใดๆจากพระบิดาเลยที่ทรงอภิเษกสมรสใหม่กับเจ้าหญิงอเมลี อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงยอมรับเธอในฐานะพระธิดาในพระราชพินัยกรรม แต่ไม่ทรงมอบพระราชมรดกใดๆแก่เธอ ยกเว้นมีคำขอให้ดูแลเธอด้านการศึกษาจวบจนเจริญวัย[248]

มาเรีย เบเนดิกตา บารอนเนสแห่งซอรอคาบา

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงคบหากับมาเรีย เบเนดิกตา บารอนเนสแห่งซอรอคาบา และมีพระโอรสร่วมกัน 1 พระองค์คือ

 ชื่อเกิดเสียชีวิตหมายเหตุ
โรดริโก เดลฟิม เปเรย์รา18234 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2366
189131 มกราคม
พ.ศ. 2434
ในพระราชพินัยกรรมของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงยอมรับเขาในฐานะพระโอรสของพระองค์และทรงแบ่งพระราชมรดกแก่เขา[248] โรดริโก เดลฟิม เปเรย์ราได้เป็นนักการทูตชาวบราซิลและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในยุโรป[253]

เฮนเรียต โจเซฟีน คลีเมนซ์ ซาอิสเซท

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงคบหากับเฮนเรียต โจเซฟีน คลีเมนซ์ ซาอิสเซท และมีพระโอรสร่วมกัน 1 พระองค์คือ

 ชื่อเกิดเสียชีวิตหมายเหตุ
เปดรู เดอ อัลคันทารา บราซิเลโร182923 สิงหาคม
พ.ศ. 2372
1891ไม่ปรากฏปีที่เสียชีวิตในพระราชพินัยกรรมของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงยอมรับเขาในฐานะพระโอรสของพระองค์และทรงแบ่งพระราชมรดกแก่เขา[248]